กระบวนการก๊าซซิฟิเคชั่น

กระบวนการก๊าซซิฟิเคชั่นคือกระบวนการเปลี่ยนรูปพลังงานจากเชื้อเพลิงแข็งให้เป็นก๊าซเชื้อเพลิงโดยใช้ อากาศ ออกซิเจน หรือไอน้ำในกระบวนการเผาไหม้บางส่วน (Partial Combustion) เพื่อให้เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเปลี่ยนรูปพลังงานเคมีภายในของเชื้อเพลิงแข็งให้กลายเป็นก๊าซที่สามารถเผาไหม้ได้ (Combustible Gas) ประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์   ก๊าซมีเทน ก๊าซไฮโดรเจน โดยเรียกก๊าซเชื้อเพลิงที่ผลิตได้นี้ว่าโปรดิวเซอร์ก๊าซซึ่งสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายกว่าการใช้เชื้อเพลิงแข็งในการเผาไหม้โดยตรง เช่น นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับเครื่องยนต์หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับหัวเผาชนิดต่างๆ เป็นต้น เตาก๊าซซิไฟเออร์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตโปรดิวเซอร์ก๊าซ สามารถแบ่งตามลักษณะการสัมผัสกันระหว่างเชื้อเพลิงแข็งและก๊าซเชื้อเพลิงที่ผลิตได้ภายในเตาออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ เตาก๊าซซิไฟเออร์ชนิดเบดคงที่ (Fixed Bed Gasifier) เตาก๊าซซิไฟเออร์ชนิดฟลูอิดไดซ์เบด (Fluidized Bed Gasifier) และเตาก๊าซซิไฟเออร์ชนิดเอนเทรนซ์เบด (Entrained Bed Gasifier) โดยเตาแต่ละชนิดจะมีลักษณะการป้อนเชื้อเพลิงและขนาดของเชื้อเพลิงที่ต่างกัน รวมถึงอุณหภูมิภายในเตาและองค์ประกอบของก๊าซเชื้อเพลิงที่ผลิตได้แตกต่างกัน


  • วิกฤติพลังงาน ปัญหาความต้องการใช้พลังงานในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิง เช่น ก๊าซ LPG มีแนวโน้มปรับราคาสูงขึ้น ทำให้หลายอุตสาหกรรมทั้งใหญ่และเล็ก ...

  • หลักการทำงานของเตาแบบนี้คือเชื้อเพลิงแข็งที่ใช้ในการเผาไหม้จะถูกป้อนจากด้านบน ส่วนอากาศจะไหลเข้าสู่บริเวณโซนเผาไหม้ที่อยู่เหนือโซนรีดักชั่น ก๊าซที่ผลิตได้จะไหลลงผ่านโซนรีดักชั่นก่อ...

  • ภายในเตาก๊าซซิไฟเออร์แบบไหลลง สามารถแบ่งโซนการเกิดปฏิกิริยาได้เป็น 4 โซน ได้แก่ โซนอบแห้ง (Drying Zone)โซนไพโรไลซิส (Pyrolysis Zone)โซนเผาไหม้ (Combustion Zone) และโซนรีดักชั่น (Re...